@CMMU, Episode 31, 1 June 2022
สารจากคณบดี
MESSAGE FROM THE DEAN
โลกเราปัจจุบัน ทุกอย่างรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่อารมณ์ จิตใจของเรานั้นขึ้นลง หรือแกว่งตามสภาวการณ์ของโลกภายนอก ในวันนี้เราควรเช็คตัวเอง update version ของตัวเองบ้างว่าเราเป็นอย่างไร เราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลก แต่เป็นส่วนหนึ่งของโลก ทำอย่างไรเพื่อที่เราจะเป็นคนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยให้คนรอบข้าง เป็นใครสักคนที่มีการละวางซึ่งการตัดสินถูกผิด
Psychological Safety หรือที่แปลว่า พื้นที่ปลอดภัยทางความคิด เป็นแนวคิดของ Prof. William A. Kahn จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ที่พบว่าสาเหตุที่คนตัดสินใจจะไม่มีส่วนร่วมหรือไม่แสดงความคิดเห็น เป็นเพราะพวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยหรือรู้สึกไม่สบายใจที่จะพูด จึงเลือกที่จะนิ่งเฉย เราจึงควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนรอบข้าง เป็นพื้นที่ที่คนอยู่แล้วสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นได้โดยไม่ต้องกลัวถูกตัดสินผิด-ถูก ดี-ไม่ดี หาก OneCMMU ทุกคนเป็นพื้นที่ความสบายใจให้กันและกัน เป็นสังคมแห่งความแตกต่างหลากหลาย ที่สามารถเห็นต่างขณะที่ยังรู้สึกปลอดภัย และยังคงเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้ จะทำให้พวกเราทุกคนมีความสบายใจในการดำเนินชีวิต และเกิดกระบวนการที่นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปร่วมกัน
In the world nowadays, everything around us is changing all the time. As a result, it is normal that our emotion and mental condition swing and become unstable according to the external situation in the world. Today we should check and update ourselves to see how we are doing. We are not the center of the world, but only a part of it. How should we do to become an environmental-friendly person and be psychological safety for those around us. To be someone without judging others.
Psychological Safety means a safe area for thoughts, which is the concept of Prof. William A. Kahn from Boston University. He discovered that the reason that people decided to express their idea or not depends on whether or not they feel safe and comfortable to speak up. If they do not feel so, they will choose to remain still. Thus, we should be Psychological Safety for those around us, be a space where people can be themselves completely. They can express their feelings and ideas without feeling afraid of being judged of being right or wrong, good or bad.
We will all feel comfortable to live our life, if OneCMMU can offer the area of comfort to one another and be the society of diversity where we feel safe to be different and still be a part of the organization. This leads to the process of growing sustainably together.
ปักษ์นี้พบกับ พี่หน่อย หรือ คุณ อุษณีย์ จะมาคุยให้ฟังถึงโครงการวิจัยเชิงพัฒนาทักษะในการเป็นผู้ประกอบการให้กับผู้พิการทางการได้ยิน เพื่อผลระยะยาวในการพัฒนาทักษะ และ ไม่ต้องพึ่งพาใคร
In this issue, Nattavud Pimpa interviews Dr. Burim, the Deputy Dean of Academic Affairs, on his research project aiming at empowering people with hearing impairments to be educated and trained in management, and return to work, regain their self-esteem and pride.
Sustainability@CMMU
วันนี้ลองฟังแนวคิดจากผู้ว่าราชการ กทม คนล่าสุด รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในเรื่องการเปลี่ยนวิธีคิด และ แนวการใช้ชีวิต เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น และ ประเทศที่ดีขึ้น นิสัยมีผลอย่างไรต่อคุณภาพชีวิต
Today, let’s listen to an idea from the latest Bangkok Governor, Associate Professor Chatchat Sitthiphan, on changing the way of thinking and lifestyle. for a better life and a better country How habits affect quality of life.
แล้วเราจะพบกันในทุกวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของเดือน
We will meet regularly on the 1st and the 16th of every month.
รศ.ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดี
Tag:2022, onecmmu, sustainability